ดอกเบี้ยคือค่าธรรมเนียมที่ธนาคารเรียกเก็บจากการให้คุณกู้ยืมเงิน โดยอาจเปรียบได้ว่าดอกเบี้ยก็คือ “ค่าเช่าเงิน”
โดยทั่วไปแล้วอัตราดอกเบี้ยของสินเชื่อบ้านจะอ้างอิงเป็นเปอร์เซ็นต์ที่สูงหรือต่ำกว่าอัตราดอกเบี้ยขั้นต่ำ
สำหรับเงินกู้หรือ MRR ตัวอย่างเช่น ในกรณีที่ MRR ปัจจุบันอยู่ที่ 6.6% อัตราดอกเบี้ยของสินเชื่อ
“MRR -2.1%” จะอยู่ที่ 4.5%
อัตราดอกเบี้ยขั้นต่ำสำหรับเงินกู้ (MRR) คืออัตราดอกเบี้ยที่ธนาคารต่าง ๆ ใช้อ้างอิงภายใน ก่อนที่จะ มีการตัดสินใจว่าจะคิดค่าบริการเท่าไหร่จากการให้บริการสินเชื่อและบริการอื่น ๆ อัตราดอกเบี้ยนี้คือ อัตราดอกเบี้ยที่คิดจากต้นทุนในการบริหารงานของธนาคารซึ่งโดยทั่วไปแล้วอัตราดอกเบี้ยของธนาคาร ส่วนใหญ่จะไม่แตกต่างกันมากนัก อัตราดอกเบี้ยขั้นต่ำสำหรับเงินกู้นี้ จะได้รับผลกระทบจากการขึ้นลง ของอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่กำหนดโดยธนาคารแห่งประเทศไทย
สินเชื่อบ้านที่ใช้อัตราดอกเบี้ยผันแปร (หรือ อัตราดอกเบี้ยลอยตัว) คือสินเชื่อประเภทที่อาจมีการ เปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยได้ในอนาคต
ในทางตรงกันข้าม สินเชื่อบ้านที่ใช้อัตราดอกเบี้ยคงที่จะไม่มีการเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยตลอด ระยะเวลาที่ขอสินเชื่อ
สินเชื่อบ้านส่วนใหญ่ในปัจจุบันจะใช้อัตราดอกเบี้ยแบบผันแปร (ธนาคารทุกแห่งที่คิดอัตราดอกเบี้ย ของสินเชื่อบ้านในรูปแบบ “MRR –xx%” คือการใช้อัตราดอกเบี้ยแบบผันแปร)
ธนาคารจะคิดดอกเบี้ยจากยอดค้างชำระของสินเชื่อบ้านของคุณ (หรือ เงินต้น) โดยทั่วไปแล้ว อัตราดอกเบี้ยจะคำนวณและเรียกเก็บเป็นรายเดือน
ตัวอย่าง สมมุติว่าคุณกู้สินเชื่อบ้านเป็นจำนวนเงิน 5,000,000 บาท จากธนาคารที่อัตราดอกเบี้ย
MRR -2.1% และสมมุติต่อไปว่า MRR อยู่ที่ 6.6%
ในเดือนแรก:
ยอดรวมของดอกเบี้ยที่เรียกเก็บโดยธนาคารคือ:
5,000,000 บาท x (6.6% – 2.1%) / 12 = 18,750 บาท
ดอกเบี้ยที่คุณต้องชำระอาจลดลงได้ในเดือนถัดไปทั้งนี้ขึ้นอยู่กับยอดที่คุณต้องผ่อนชำระในแต่ละเดือน
สมมุติว่ายอดผ่อนชำระต่อเดือนของคุณคือ 30,000 บาท
ในเดือนที่สอง:
ดอกเบี้ยของเดือนก่อน = 18,750 บาท (ดูด้านบน)
ยอดเงินที่กำหนดเพื่อลดยอดค้างชำระของสินเชื่อ = 30,000 บาท (ยอดผ่อนชำระของเดือนก่อน) – 18,750 บาท (ดอกเบี้ยของเดือนแรก) = 11,250 บาท
ยอดค้างชำระในเดือน 2:
5,000,000 บาท (เงินต้น) – 11,250 บาท (จำนวนเงินที่ใช้ลดยอดค้างชำระในเดือน 1) = 4,988,750 บาท
ยอดรวมของดอกเบี้ยที่เรียกเก็บโดยธนาคารในเดือน 2:
4,988,750 บาท x (6.6% – 2.1%) / 12 = 18,710 บาท
Daily Rest vs Monthly Rest
ดอกเบี้ยรายวัน และ รายเดือน
การคำนวณดอกเบี้ยอาจทำการคำนวณ “รายวัน” หรือ “รายเดือน” ได้ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับข้อตกลงในสินเชื่อ แผนผังด้านล่างจะแสดงความแตกต่างระหว่างการคำนวณ “รายวัน” กับ “รายเดือน”
สินเชื่อบ้านที่คำนวณรายวันจะดีกว่าสินเชื่อที่คำนวณรายเดือน ข้อได้เปรียบที่เห็นได้ชัดคือคุณสามารถ ประหยัดค่าดอกเบี้ยได้ในกรณีที่คุณชำระเงินก้อนใหญ่คืนสินเชื่อในช่วงกลางเดือน (ก่อนครบกำหนด ชำระคืนเงินกู้)
ข้อูลและภาพประกอบ : imoneythailand.com
เรียบเรียง : ทิพรินทร์ ทองรุ่งงาม
ข่าวสารและกำหนดการกิจกรรมต่างๆของบริษัท
**test Home Buyer's Expo 2016***test Home Buyer's Expo 2016 [**ทดสอบเนื้อหาย่อ**] |
แบงค์คอก ฮอไรซอน สาทร เรียนเชิญทุกท่านร่วมงาน Full Moon Cake Party 19-22 กันยายนนี้คอนโดใหม่ใจกลางสาทร เรียนเชิญทุกท่านร่วมงาน Full Moon Cake Party 19-22 กันยายนนี้ ลุ้นรับของที่ระลึกมากมายภายในงาน |
CMC MidYear Sale Parade จับแตก แจกไม่อั้น Home Buyer’s Expo 2012 ณ ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์บริษัท เจ้าพระยามหานคร จำกัด(มหาชน) จัดแคมเปญ รับกลางปี ด้วย “CMC MIDYEAR SALE PARADE” |
ดูทั้งหมด |
ท่านสามารถติดตามข่าวสารความเคลื่อนไหว กิจกรรมที่ผ่านมาในรอบเดือนของเรา CMC ผ่านนิตยสาร Happy C Magazine.
test 9998888sdg8888 |
Happy Easy DayE-Magazine ประจำเดือน กรกฏาคม |
Summer Strike เเรง รับ ร้อนE-Magazine ประจำเดือน พฤษภาคม |
End of SummerE-Magazine ประจำเดือน เมษายน |
CMC Smile DayE-Magazine ประจำเดือน มีนาคม |
Easy Pay Easy LifeE-Magazine ประจำเดือน มกราคม |
ดูทั้งหมด |